จำหน่ายถังขยะพลาสติกหลากหลายคุณภาพเยี่ยม

จำหน่าย ถังขยะแยกประเภท  ถังขยะพลาสติกมาตรฐาน  สำหรับสำนักงานขนาดใหญ่ กทม. อบต. สถานที่ราชการ หอพัก โรงเรียน โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงงานอุตสาหกรรม ใช้สะดวกมีล้อ วัสดุแข็งแรง ขนาด 40ลิตร 60ลิตร 120 ลิตร 240 ลิตร แบบหน้าเรียบ, ฝา 1 ช่อง และ ฝา 2 ช่อง สีของถังคือ สีแดง, เขียว, เหลือง และน้ำเงิน เป็นสีมาตรฐาน ขาย ถังขยะ , ราคา ถังขยะใส , ถังขยะกทม. , ถังขยะ240ลิตร , ถังขยะ120ลิตร , ถังขยะ100ลิตร , ถังขยะใส60ลิตร , ถังขยะ40ลิตร , ถังขยะใส , ถังขยะพลาสติก , ถังขยะกลม จัดส่งทั่วประเทศ

ถังขยะพลาสติก ถังขยะแยกประเภท 60ลิตร
ถังขยะพลาสติก ถังขยะแยกประเภท 60ลิตร
ถังขยะพลาสติก ถังขยะแยกประเภท 120ลิตร
ถังขยะพลาสติก ถังขยะแยกประเภท 120ลิตร

แนวทางการแก้ไขมลพิษทางขยะ โดย ถังขยะแยกประเภท

  1. ก่อนจะทิ้งขยะ หยุดคิดสักนิดว่าเราจะสามารถลดปริมาณขยะและนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ได้ไหมมีแนวคิดอยู่ 7R คือ

REFUSE การปฏิเสธหรือหลีกเลี่ยงสิ่งของหรือบรรจุภัณฑ์ที่จะสร้างปัญหาขยะรวมทั้งเป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กล่องโฟม หรือ ขยะมีพิษอื่น ๆ
REFILL การเลือกใช้สินค้าชนิดเติมซึ่งใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ขยะก็น้อยกว่าด้วย
RETURN การเลือกใช้สินค้าที่สามารถส่งคืนบรรจุภัณฑ์กลับสู่ผู้ผลิตได้ เช่น ขวดเครื่องดื่ม
REPAIR การซ่อมแซมเครื่องใช้ ให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ต่อไป ไม่ให้กลายเป็นขยะ
REUSE การนำบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่ เช่น ใช้ถุง ผ้าไปช็อปปิ้งแทนถุงก๊อบแก๊บ

RECYCLE การแยกขยะที่ยังใช้ประโยชน์ได้ให้ง่ายต่อการจัดเก็บและส่งแปรรูป เช่น บรรจุภัณฑ์ พลาสติก แก้ว กระป๋องเครื่องดื่มต่าง ๆ

REDUCE การลดการบริโภคและหาทางเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานของสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ

  1. ทิ้งขยะในที่ที่จัดไว้ให้
  1.   ควรมีการคัดแยกขยะ

3.1 มูลฝอยทั่วไป

หมายความว่า  มูลฝอยที่ย่อยสลายได้ยากหรืออาจจะย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ  แต่ไม่คุ้มกับต้นทุนในการนำกลับมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม  เช่น  กล่องบรรจุนมพร้อมดื่ม  โฟม  ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับบรรจุอาหารด้วยวิธีสูญญากาศ  ซองหรือถุงพลาสติกสำหรับบรรจุเครื่องอุปโภคด้วยวิธีรีดความร้อน  เป็นต้น

ถังสีฟ้า – รองรับขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ รีไซเคิลยาก แต่ไม่เป็นพิษ เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่สำเร็จรูป ถุงพลาสติกเปื้อนเศษอาหาร โฟมเปื้อนอาหาร ฟอล์ยเปื้อนอาหาร

3.2 มูลฝอยย่อยสลาย
หมายความว่า  มูลฝอยที่ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติและ/หรือสามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้  เช่น  เศษอาหาร  มูลสัตว์  ซากหรือเศษของพืช  ผัก  ผลไม้  หรือสัตว์ เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงซากหรือเศษของพืช  ผัก  ผลไม้  หรือสัตว์ที่เกิดจากการทดลองในห้องปฏิบัติการ

ถังสีเขียว – รองรับขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหารใบไม้

3.3 มูลฝอยที่ยังใช้ได้ (รีไซเคิล)
หมายความว่า  มูลฝอยที่สามารถนำกลับมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ได้ใหม่ โดยผ่านกรรมวิธีการผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น เศษเหล็ก  แก้ว  พลาสติก  กระดาษ เป็นต้น

ถังสีเหลือง – รองรับขยะที่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ

3.4 มูลฝอยอันตราย
หมายความว่า มูลฝอยที่ปนเปื้อน หรือมีส่วนประกอบของวัตถุดังต่อไปนี้
วัตถุระเบิดได้
วัตถุไวไฟ
วัตถุออกไซด์และวัตถุเปอร์ออกไซด์
วัตถุมีพิษ

วัตถุอย่างอื่นที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรืออาจทำให้เกิดอันตรายแก่บุคคล  สัตว์  พืชหรือทรัพย์ เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์  ถ่านไฟฉายหรือแบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่  ภาชนะที่ใช้บรรจุสารกำจัดแมลงหรือวัชพืช  กระป๋องสเปรย์บรรจุสีหรือสารเคมี เป็นต้น

ถังสีแดง – รองรับขยะที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋องสีสเปรย์ กระป๋อง ยาฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่าง ๆ